12betkh

 
 
 
หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ อุคคะคฤหบดี
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
 รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

12betkhLiên kết đăng nhập
๖. อุคคะคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ให้ของเจริญจิต

อุคคะ เกิดในตระกูลเศรษฐีในเมืองเวสาลี ชื่อเดิมของท่านไม่ปรากฏเป็นที่แน่นอน แต่เมื่อเจริญวัยขึ้น ร่างกายของท่านสูงสง่างาม เปรียบประดูจว่าเสาระเนียด ที่นายช่างได้ตกแต่ง ดีแล้ว ผิวพรรณผ่องใส

ด้วยคุณสมบัติของรูปกายของท่าน ดังที่กล่าวมานั้น ได้ฟุ้งขจรไปทั่วทิศ ปริมณฑล ประชาชนทั้งหลาย จึงพากันเรียกท่านว่า “อุคคเศรษฐี” บ้าง “อุคคคฤหบดี” บ้าง

ครั้นกาลต่อมา ท่านได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา และเพียงการเข้าเฝ้าในครั้งแรก เท่านั้นก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ต่อจากนั้นไม่นานนัก ท่านก็สามารถกระทำให้แจ้ง ซึ่งมรรคและผล ๓ ทำให้ท่านดำรงอยู่ในพระอนาคามี

ผู้ให้ของที่ชอบใจย่อมได้ของที่ชอบใจ
เมื่ออายุสังขารของท่าน ย่างเข้าสู่วัยชรา ท่านได้ไปนั่งพักผ่อนอยู่ในที่สงบเงียบ แล้วเกิด ความคิดขึ้นมาว่า “สิ่งใดอันเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเรา เราจักถวายสิ่งนั้น แด่พระทศพล ซึ่ง เราเคยได้ฟังคำนี้ ในที่เฉพาะพระพักตร์ พระบรมศาสดาว่า ผู้ถวายของที่ชอบใจ ย่อมได้ของที่ชอบใจ”

ครั้นความคิดดังนี้จบลงแล้ว ท่านอุคคเศรษฐีก็ยังคิดต่อไปอีกว่า “พระบรมศาสดาจะ ทรงทราบความคิดของเราหรือไม่หนอ ถ้าพระองค์ทรงทราบ ก็ของพระองค์จงเสด็จมายังประตู เรือนของเราด้วยเถิด”

แม้พระบรมศาสดา ก็ทรงทราบวาระจิตของท่านอุคคเศรษฐี จึงเสด็จพร้อมด้วยภิกษุ สงฆ์ มาประทับปรากฏ ณ ประตูเรือนของท่านเศรษฐีนั้น ในขณะที่เศรษฐีมีความคิดจบลง

อุคคเศรษฐี ได้เห็นพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ปรากฏอยู่หน้าประตูเรือน ของตนสมเจตนาที่ตนคิด ดวงจิตก็ฟูขึ้น ด้วยปีติโสมนัส รีบขะมักเขม้นเดินไปยังที่ประทับ ของพระพุทธองค์ กราบลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วรับบาตรของพระศาสดา กราบทูล อาราธนา ให้เสด็จเข้าไปประทับในเรือนของตน พระพุทธองค์ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ ที่จัด ไว้เป็นอย่างดี ส่วนภิกษุสงฆ์ที่ติตตามก็นั่ง ณ อาสนะอันสมควรแก่ตน ๆ

อุคคคฤหบดี ได้อังคาสถวายภัตตาหาร อันมีรสเลิศต่างๆ แด่พระภิกษุสงฆ์อันมีพระ พุทธองค์เป็นประมุข ครั้นเสด็จภัตกิจแล้ว ได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังมาในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ว่า บุคคลผู้ถวายของที่ชอบใจ ก็ย่อมได้รับของที่ชอบใจ”

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิ่งใดเป็นที่ชอบใจของข้าพระองค์ สิ่งนั้นข้าพระองค์ได้ถวาย แด่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธองค์เป็นประมุขแล้ว พระเจ้าข้า”

พระบรมศาสดา ได้สดับคำกราบทูลของท่านคฤหบดีโดยตลอดแล้ว จึงตรัสธรรมกถา อนุโมทนาทาน กระทำให้ท่านคฤหบดี มีจิตเบิกบาน ชื่นชมโสมนัส ในกุศลทานของตนยิ่งขึ้น

อนึ่งพระพุทธองค์ทรงอาศัยเหตุนี้ ต่อมาเมื่อเสด็จประทับ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ได้สถาปนาอุบาสกนามว่า “อุคคคฤหบดี” ผู้นั้น ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสก ทั้งหลาย ในฝ่ายผู้ให้ของเจริญจิต คือ ผู้ถวายโภชนะที่ชื่นชอบใจ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- +++ 


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ //www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

pathanbd.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright:12betkhMọi quyền được bảo lưu cho trang web chính thức © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
12betkhLiên kết đăng nhập w88ud2 fb88in fun88nz 8xbet555 68 Game bài