12betkh

 
 
 
หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
 รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

12betkhLiên kết đăng nhập
เอตทัคคะ แปลว่า “นั่นเป็นยอด”, “นี่เป็นเลิศ”, ได้แก่ บุคคลหรือสิ่งที่ยอดเยี่ยม ดีเด่น หรือ เป็นเลิศ ในทางใดทางหนึ่ง เช่น ในพุทธพจน์ (องฺ.เอก.๒๐/๑๔๖/๓๑) ว่า “เอตทคฺคํ ภิกฺขเว มม สาวกานํ ภิกฺขูนํ รตฺตญฺญูนํ ยทิทํ อญฺญาโกณฺฑญฺโญ” (ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราผู้รัตตัญญู อัญญาโกณฑัญญะนี่ เป็นผู้ยอดเยี่ยม), (องฺ.เอก.๒๐/๗๘/๑๗) ว่า “เอตทคฺคํ ภิกฺขเว วุฑฺฒีนํ ยทิทํ ปญฺญาวุฑฺฒิ” (ภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเจริญทั้งหลายความเจริญเพิ่มพูนปัญญานี่ เป็นเยี่ยม), (องฺ.นวก.๒๓/๒๐๙/๓๗๗) ว่า “เอตทคฺคํ ภิกฺขเว ทานานํ ยทิทํ ธมฺมทานํ” (ภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาทานทั้งหลาย ธรรมทานนี้เป็นเลิศ)

ตามปกติ มักหมายถึง พระสาวกที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง เช่น เป็นเอตทัคคะในทางธรรมกถึก หมายความว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางแสดงธรรม เป็นต้น

ดังนั้น เอตทัคคะ จึงหมายถึง ผู้ประเสริฐสุดในทางใดทางหนึ่ง เป็นตำแหน่งทางพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าได้ประทานแต่งตั้ง ให้พุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีความรู้ความสามารถ เด่นกว่าท่านอื่นๆ ในด้านนั้นๆ และแต่ละตำแหน่ง พระพุทธองค์ประทานแต่งตั้งเพียง รูปเดียว ท่านเดียวเท่านั้น

เหตุผลที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องพุทธบริษัททั้ง ๔ ไว้ในตำแหน่ง คือ
      ๑. ได้รับการยกย่องตามเรื่องที่เกิดขึ้น ( อัตถุปปัตติโต ) ได้แสดงความ สามารถให้ปรากฏ โดยสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
      ๒. ได้รับการยกย่องตามที่ได้สะสมบุญมาในอดีตชาติ ( อาคมันโต ) ได้สร้างบุญสะสมในด้านนั้นมาตั้งแต่อดีตชาติ พร้อมทั้งตั้งจิต ปราถนาเพื่อบรรลุตำแหน่งนั้นด้วย
      ๓. ได้รับการยกย่อง ตามความเชี่ยวชาญ ( จิณณวสิโต ) มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเป็นพิเศษ
      ๔. ได้รับการยกย่องตามความสามารถเหนือผู้อื่น ( คุณาติเรกโต ) มีความสามารถ ในเรื่องที่ทำให้ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ เหนือกว่าผู้อื่นที่มีความสามารถอย่างเดียวกัน

เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา
๑. หมวด ภิกษุบริษัท ๔๑ ท่าน
๒. หมวด ภิกษณีบริษัท ๑๓ ท่าน
๓. หมวด อุบาสกบริษัท ๑๐ ท่าน
๔. หมวด อุบาสิกาบริษัท ๑๐ ท่าน

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ //www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.pathanbd.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright:12betkhMọi quyền được bảo lưu cho trang web chính thức © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
12betkhLiên kết đăng nhập w88ud2 fb88in fun88nz 8xbet555 68 Game bài