12betkh

 
 
 
หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระลกุณฏกภัททิยะเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
 รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

12betkhLiên kết đăng nhập
๒๐. พระลกุณฏกภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้พูดเสียงไพเราะ

พระลกุณฏกภัททิยะ เกิดในตระกูลมหาเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี มีชื่อเดิมว่า “ภัททิยะ” เมื่อเจริญวัยอายุมากขึ้น แต่ร่างกายของท่านไม่เจริญเติบโตตามอายุ ยังคงมีร่างกายเล็กต่ำเตี้ย เหมือนเด็กวัย ๑๐ ขวบ ชนทั่วไปเมื่อจะจึงเรียกชื่อท่านก็จะเพิ่มคำว่า “ลกุณฏกะ” ซึ่งหมายถึง ต่ำเตี้ย ไว้ข้างหน้า ชื่อของท่านด้วย จึงเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ท่านภัททิยะเตี้ย หรือ ท่านภัททิยะ แคระ

คนแคระก็บวชได้
ในโอกาสที่พระผู้มีพระภาคเสด็จมาประทับ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร หมู่อุบาสก อุบาสิกา ชาวเมืองสาวัตถุ ทราบข่าวการเสด็จมาของพระพุทธองค์ ต่างก็ถือดอกไม้และของหอม เครื่องสักการะทั้งหลาย ไปเข้าเฝ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนา ลกุณฏกภัททิยะ ก็ได้ติดตามไปร่วม ฟังธรรมด้วย เมื่อพระพุทธองค์แสดงพระธรรมเทศนาจบลงแล้ว ท่านก็เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า ปรารถนาที่จะบวชในพระพุทธศาสนา เมื่ออุบาสกอุบาสิกา พากันกลับเคหสถานของตน แล้วได้ เข้าไปกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์ประทานให้ตามความประสงค์

พระลกุณฏกภัททิยะ ครั้นได้อุปสมบทแล้ว ได้เรียนพระกรรมฐานในสำนักของ พระบรมศาสดาแล้ว กราบทูลขอปลีกตัวออกไปจากหมู่คณะไปอยู่ในที่อันสงบสงัดปฏิบัติความ เพียร ไม่นานนักก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคลชั้นต้นคือพรโสดาบัน ซึ่งจะต้อง เพียรศึกษาปฏิบัติให้ได้บรรลุมรรคผลชั้นสูงขึ้นอีก

เพราะความที่ท่านมีรูปร่างเล็กและเตี้ย จึงเป็นที่ชวนหัวเราะแก่ผู้พบเห็น วันหนึ่ง หญิง แพศยานั่งรถมากับพราหมณ์หนุ่มคนหนึ่ง เพื่อไปเที่ยวชมมหรสพ นางผ่านมาเห็นพระเถระแล้ว คงจะเห็นว่าท่านตัวเล็ก ทั้ง ๆ ที่ดูลักษณะน่าจะมีอายุมาก นางจึงหัวเราะลั่นจนมองเห็นฟันใน ปาก

พระเถระเห็นฟันของหญิงแพศยานั้นแล้ว ถือเอานิมิตนั้นเป็นอารมณ์พิจารณาว่าเห็นของ ปฏิกูล สกปรก น่าเกลียด จนได้สำเร็จเป็นพระอนาคามี และต่อมาท่านได้ฟังธรรมกถา อันเป็น โอวาทจากพระสารีบุตรเถระ จิตก็หลุดพ้นจากกิเลสาสวะ สำเร็จเป็นพระอรหันต์

ถูกล้อเลียนว่าเป็นสามเณร
พระลกุณฏกภัททิยะ นั้น เพราะความท่านเป็นผู้มีรูปร่างเล็กและเตี้ยเหมือนสามเณร จึงเป็นเหตุให้ พระหนุ่มสามเณรน้อยทั้งหลายที่เป็นปุถุชน ชอบล้อเลียนท่านด้วยความคึกคะนอง ชอบหยอกล้อท่านเล่น ด้วยการจับศีรษะบ้าง ดึงหูบ้าง จับจมูกบ้าง แล้วพูดหยอกล้อท่านว่า:- “แนะสามเณรน้อย ไม่อยากสึกหรือ ยังชอบใจประพฤติพรหมจรรย์อยู่อีกหรือ ?”

และครั้งหนึ่ง มีภิกษุประมาณ ๓๐ รูป มาจากถิ่นอื่น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้เดินสวน ทางกับ พระลกุณฏกภัททิยะ ซึ่งท่านเพิ่งมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์แล้วก็กลับไป พระพุทธองค์ ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า:-

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นพระเถระรูปหนึ่งเดินสวนทางไปหรือไม่ ?”
“ไม่เห็น พระเจ้าข้า”
“พวกเธอเห็น มิใช่หรือ ?”
“เห็นแต่สามเณรองค์เล็ก ๆ เดินสวนทางไป พระเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย นั่นแหละ คือพระเถระ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปร่างของท่านเล็กเหลือเกิน พระเจ้าข้า”

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่เรียกบุคคลว่า “เถระ” เพราะความเป็นคนแก่ มีผม บนศีรษะหงอก และเพียงสักแต่ว่า นั่งบนอาสนะพระเถระเท่านั้น ท่านเหล่านั้น ตถาคตเรียกว่า “พระแก่เปล่า” ส่วนท่านที่มีสัจจะ คือริยสัจ ๔ มีธรรมะ มีความสำรวม รู้จักข่มใจ ไม่เบียด เบียนผู้อื่น และมีปัญญา ท่านเหล่านี้ ตถาคตเรียกว่า “เถระ”

ได้รับยกย่องว่าพูดเสียงไพเราะ
พระลกุณฏกภัททิยะ แม้จะมีร่างกายที่ไม่ปกติและไม่เหมือนกับภิกษุอื่น ๆ อันเป็นหตุ ให้ท่านถูกล้อเลียนด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ท่านก็ไม่เคยโกรธเคืองเลย เพราะท่านเป็นพระอรหันต์ ขีณาสพ ไม่มีกิเลสาสวะ แล้ว นอกจากนี้ท่านยังมีความสามารถพิเศษ คือปกติท่านแสดงธรรม สั่งสอนพุทธศาสนิกชน และเจรจาประกอบด้วยถ้อยคำ และน้ำเสียงอันไพเราะ เป็นที่เสนาะโสต แก่ผู้ฟังทั้งหลาย อันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใส

ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่ง เอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ ทั้งหลายในทาง ผู้พูดเสียงไพเราะ

ท่านพระลกุณฏกภัททิยะ ดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาอยู่พอสมควรแก่กาล เวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- ประวัติพระลกุณฏกภัททิยเถระ หนึ่งในอสีติมหาสาวก (พระมหาสาวก ๘๐)


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ //www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
 (มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

pathanbd.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright:12betkhMọi quyền được bảo lưu cho trang web chính thức © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
12betkhLiên kết đăng nhập w88ud2 fb88in fun88nz 8xbet555 68 Game bài